ใกล้เข้ามาแล้วกับการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 อีกไม่ถึง 3 ปีเหล่าประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และอำนาจต่อรองในเวทีโลกการรวมกันเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวส่งผลต่อเทคนิค และองค์ความรู้มาตรฐานสากลรวมไปถึงการรับรองวิชาชีพสากล
การพัฒนาศักยภาพของธุรกิจการผลิต การบริการ และการขนส่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มาถึง ปัจจัยสำคัญของการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายความสำเร็จขององค์กรในภูมิภาคต่อเวทีโลกคือ การมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในระดับมาตรฐานสากล
หลายฝ่ายต่างเป็นห่วงในด้านความพร้อมของประเทศไทยเมื่อเปิด AEC คือการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพแรงงานฝีมือ และผู้มีความสามารถพิเศษ เข้ามายึดตำแหน่งงานในประเทศไทย โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง และระดับสูง หรือในทางกลับกันบุคลากรไทยมีโอกาสในการแสวงหาความก้าวหน้าในแวดวงการทำงานในต่างประเทศ แต่คำถามคือเรามีศักยภาพเพียงพอแล้วหรือยัง
การยกระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรไทยให้ทัดเทียมระดับสากลเป็นเรื่องสำคัญมาก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศและองค์กรข้ามชาติที่ต้องบริหารพนักงานที่มาจากต่างชาติ ต่างภาษาและต่างแหล่งที่มาของการศึกษา ปัญหาคือด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในองค์กร กับลูกค้ากับซัพพลายเออ และระหว่างสาขาและองค์กรในเครือที่เข้าใจไม่ตรงกัน การสร้างประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวเนื่องจากเกิดความเข้าใจผิดดังกล่าว คือการมีมาตรฐานในการทำงานและการสื่อสารที่ตรงกัน มีบุคลากรที่มีความรู้และเป็นมืออาชีพที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพสากล (Professional Qualification) ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียเป็นผู้นำในการนำมาตรฐานประกาศนียบัตรวิชาชีพเข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาบุคลากรระดับผู้บริหารเพื่อทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะด้านนั้นคือประกาศนียบัตรที่นอกเหนือจากวุฒิทางวิชาการ (Academic Degree) ที่ได้รับจากสถานศึกษาอันมีผู้จบปริญญาตรีและโทเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยมาตรฐานการศึกษาและเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้บริษัทข้ามชาติมองหาบุคลากรที่มีประกาศนียบัตรวิชาชีพสากล เพื่อการสื่อสารและการปฏิบัติงานกับเพื่อนร่วมงานในแผนกต่างๆ ภายในองค์กร รวมถึงบริษัทข้ามชาติที่มีสาขาอยู่หลายประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในต่างประเทศผู้ที่จบการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จะต้องได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาที่จบ
บริษัท เอสซีเอ็ม คอนซัลเทนท์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ให้บริการในการอบรมและพัฒนาเตรียมความพร้อมบุคลากรและผู้บริหาร จากองค์กรประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนชั้นนำที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกอาทิเช่น APICS (The Association for Operations Management) มีประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านกาผลิตและสินค้าคงคลังสากล(CPIM: Certified in Production and Inventory Management) และ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพผู้ชำนาญการซัพพลายเชนสากล (CSCP: Certified Supply Chain Professional) AST&L (American Society for Transport and Logistics) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์สากล (CTL: Certification in Transportation and Logistics) เป็นต้น ในการสอบใบประกาศนียบัตรวิชาชีพนี้ ข้อสอบจะเป็นข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าผู้สอบจะสอบที่อเมริกายุโรปหรือที่ใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเป็นมาตรฐานสากลของการได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพสากล
“การได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ควรได้รับจากสถาบันวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับในระดับแนวหน้ามากที่สุดในระดับสากลของวิชาชีพนั้น”
ก่อ น ห น้า นี้ห า ก ต้อ ง ก า ร ไ ด้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพของ APICS และAST&L ต้องไปที่ประเทศสิงคโปร์ วันนี้ APICS และ AST&L มีผู้แทนให้การศึกษาอย่างเป็นทางการ (Authorized Education Provider) คือสถาบันอบรมวิชาชีพโซ่อุปทานสากลเอสซีเอ็ม บริหารงานโดย บริษัท เอสซีเอ็ม คอนซัลแทนท์ จำกัด ซึ่งให้บริการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ CPIM, CSCP, CTL, PLS และอื่นๆ รวมทั้งการอบรมแบบ In-house Training หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพดังกล่าวตอบโจทย์ให้กับผู้ที่ต้องการก้าวสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโลจิส-ติกส์และซัพพลายเชนระดับสากล และเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ เพราะการได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงาน